บทความวิชาการ
หน้าแรก   /   บทความวิชาการ  /   ซะกาตฟิตร์

 

ซะกาตฟิตร์

 

ความหมายของซะกาตฟิตร์

          ซะกาตฟิตร์ คือ อาหารส่วนหนึ่งที่มุสลิมจำเป็นต้องแจกจ่ายให้แก่ผู้ยากไร้ เพ่อชะตนเองให้สะอาดและเพื่อชดเชยข้อบกพร่องต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างถือศิลอด เช่น คำพูดที่ไร้สาระและหยาบคาย เป็นต้น  ดังที่มีหะดิษระบุไว้ :

ท่านร่อซูลลุ้ลเลาะห์ (ซ.ล) ได้กำหนดซะกาตฟิตร์ เพื่อชำระผู้ถือศิลอดให้สพอาดจากคำพูดที่ไร้สาระ และหยาบคาย และเพื่อเป็นอาหารแก่คนยากไร้ ” .  รายงานโดย อบูดาวูด

เคล็ดลับ (ความสำคัญ) และการบัญญัติซะกาตฟิตร์

ซะกาตฟิตร์ ถูกบัญญัติในปีฮิจเราะห์ศักราชที่ 2 ซึ่งถูกบัญญัติในปีเดียวกันการการถือศิลอดในเดือน รอมฎอน.

ความสำคัญของการจ่ายซะกาตฟิตร์ คือ การสนองความต้องการของผู้ยากไร้และขัดสน ให้ได้มีอาหารไว้รับประทานอย่างสมบูรณ์ และเพื่อสร้างความปิติยินดีแก่พวกเขา จนไม่ทำให้เกิดความรู้สึกขื่นขมในความยากจนและขัดสน ในช่วงเวลาที่มุสลิมทุกคนต่างแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สวยงาม และมีอาหารการกินที่อิ่มหนำสำราญเนื่องในการเฉลิมฉลองวันอีด

และการจ่ายซะกาตฟิตร์ยังเป็นการนำตนให้เข้าใกล้ชิดอัลลอฮฺอีกด้วย และยังเป็นการขจัดความผิดต่างๆของผู้ที่ถือศิลอดอาจจะกระทำขึ้นในขณะถือศิลอด.

 

เงื่อนไขที่ทำให้จำเป็นต้องจ่ายซะกาตฟิตร์

1. จะต้องเป็นเสรีชน.

2. จะต้องรับนับถือศาสนาอิสลาม.

3. จะต้องมีทรัพย์ที่เกินความสามารถของตนและคนที่ตนจำเป็นต้องจ่ายค่าเลี่ยงดูให้ในวันอีดและคืนหลังจากวันอีด.

4.มีชีวิตอยู่ทันได้พบกับส่วนหนึ่งของเดือนรอมฎอน และเป็นส่วนหนึ่งของเดือนเชาวาล.

 

ปริมาณที่จะต้องจ่ายซะกาตฟิตร์

ปริมาณที่จะต้องจ่ายซะกาตฟิตร์ คือ 1 ศอฮ์ (ทะนาน) จากชนิดอาหารหลักที่ใช้ในการบริโภคในประเทศไทย คือ ข้าวสาร  และ จำนวน 1 ศอฮ์ของท่านนบีมูฮัมหมัด เท่ากับ 4 มุด หรือ 4 กอบมือขนาดปานกลาง     ซึ่งนักวิชาการบางท่านให้ทัศนะว่า เท่ากับ 2.5 กิโลกรัม  และบางท่านก็เทียบเท่า 3 กิโลกรัม.

 

เวลาที่จะต้องจ่ายซะกาตฟิตร์

เป็นที่อนุญาตให้ทำการจ่ายซะกาตฟิตร์ตั้งแต่เข้าเดือนรอมฎอน แต่สุนัตให้จ่ายให้เสร็จก่อนละหมาดอีด และมักรูห์ที่จะนำซะกาตฟิตร์ไปจ่ายหลังละหมาดอีด แต่ถ้าหากมีเหตุผล เช่น รอญาติใกล้ชิด หรือ เพื่อนบ้านมารับซะกาตฟิตร์ ก็สุนัตให้จ่ายหลังละหมาดอีด และที่ดีนั้นควรรีบจ่ายซะกาตฟิตร์ เพื่อคนยากจนจะได้นำไปเป็นอาหารในเดือน รอมฎอน และ เพื่อมีเวลาพอที่จะแลกเปลี่ยนและจัดเตรียมสิ่งที่จำเป็นสำหรับตนเองและลูกเมียได้ทันในวันอีด.

 

จ่ายซะกาตฟิตร์ให้ใครได้บ้าง

นักวิชาการมีความเห็นพ้องกันว่า ซะกาตฟิตร์นั้นให้จ่ายแก่บุคคลทั้ง 8 จำพวกที่มีสิทธิ์ได้รับซะกาต ซึ่งได้แก่

1. คนยากไร้   คือ  คนที่มีทรัพย์ไม่พอเป็นค่าอาหาร ค่านุ่งห่มและค่าที่พัก เช่น ต้องการใช้วันละ 100 บาท แต่หาได้วันละ 30 บาท เป็นต้น .

2. คนขัดสน  คือ  คนที่มีรายรับใม่พอรายจ่าย เช่น ต้องการใช้วันละ 100 บาท แต่หาได้วันละ 80 บาท เป็นต้น .

3. เจ้าหน้าที่ซะกาต      คือ  คนงาน เจ้าหน้าที่ และคนเก็บ ซึ่งอิหม่ามต้องอาศัยพวกเขาในการจัดเก็บ รวบรวมและแจกจ่ายซะกาต.

4. ผู้ศรัทธาใหม่   คือ  ผู้ที่เพิ่งเข้ารับอิสลาม และการแจกจ่ายซะกาตให้เขาจะทำให้ศรัทธาของเขามั่นคงมากขึ้น

5. ในการไถ่ตัวทาส      คือ   ทาส ที่ทำสัญญาไถ่ตัวเองจาการเป็นทาส โดยหาเงินมาจ่ายให้นายเป็นงวดๆ เมื่อจ่ายครบก็เป็นอิสระ ดังนั้นให้จ่ายซะกาตแก่ทาสประเภทนี้ในส่วนที่ไม่สามารถหามาจ่ายค่างวดแก่นายได้.

6. คนมีหนี้     คือ  คนที่มีหนี้มากไม่สมารถชดใช้ได้ เงื่อนไขคือ จะต้องเป็นการกู้ยืมเพื่อกระทำสิ่งที่ไม่ผิดบัญญัติศาสนา

7. ในวิถีทางของอัลเลาะห์         คือ   นักรบอาสาสมัคร ในสงครามปกป้องศาสนาโดยไม่มีค่าตอบแทนและไม่มีเงินเดือน      ซึ่งในสมัยนี้ นักวิชาการ ได้ตีความให้กว้างขึ้น โดย ครูที่ทำการสอนศาสนาอิสลามก็เข้าข่ายในสิ่งดังกล่าว.

8. คนเดินทาง     คือ  คนเดินทางที่การเดินทางของเขามีวัตถุประสงค์ไม่ผิดหลักการศาสนา.

 อัลฟิกฮฺ มันฮะยี่ เล่มที่ 2 แปลโดย อาจารย์ อรุณ บุญชม